อินโฟกราฟิกคืออะไร

แหล่งที่มา   :   www.freepik.com

คำว่าอินโฟกราฟิกเกิดจากการผสมระหว่างคำว่า Information ซึ่งแปลว่าข้อมูลกับคำว่า Graphic ชึ่งหมายถึงอะไรอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพให้ปรากฏขึ้น ดังนั้น Infographic จึงมีความหมายถึงการนำข้อมูลมาสรุปและจัดทำเป็นสื่อกราฟิก ดังนั้น อินโฟกราฟิกที่ดีจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น สามารถเปลี่ยนข้อมูลที่ดูยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่ายผ่านกราฟิกรูปแบบต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องมีใครมานำเสนอเพิ่มเติม หากมองย้อนกลับไป เราจะพบว่าอินโฟกราฟิกเป็นสิ่งถูกสร้างและใช้งานมาอย่างยาวนานก่อนที่มนุษย์จะประดิษฐ์ตัวอักษร เริ่มต้นตั้งแต่ 30,000 ปีก่อนคริสตกาล มนุษย์โคมันยอง เป็นมนุษย์ยุคแรกที่รู้จักการวาดภาพระบายสีภายในถ้ำที่อยู่อาศัยหรือบนหิน แม้จะเป็นยุคที่ไร้ซึ่งภาษาพูดและเขียน แต่พวกเขาถ่ายทอดโดยการการวาดสัญลักษณ์เพื่อแทนสิ่งต่างๆ รอบตัว รวมถึงการใช้อธิบายจำนวนของนั้น แม้การวาดภาพจะเป็นวิธีการที่เรียบง่ายแต่กลับทรงพลังอย่างไม่น่าเชื่อ สังเกตได้จากเนื้อหาที่แฝงไว้ในสื่อ หรือภาพบนผนังของมนุษย์ยุคนั้น สามารถฟันฝ่าระยะเวลาอันยาวนานหลายหมื่นปี มาแสดงให้เราที่อยู่ในโลกปัจจุบันเข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ เช่น อธิบายถุงการทำพิธีกรรม หรือการล่าสัตว์ของมนุษย์ในยุคนั้น ความเข้าใจดังกล่าวเกิดขึ้นได้เพราะพื้นฐานความคิดและจินตนาการของมนุษย์ยุคนั้นกับยุคปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกัน

     งานอินโฟกราฟิกชั้นยอดในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นเกิดขึ้นที่อียิปต์เมื่อราว 2,000 ปีก่อนคริสตกาล โดยถูกเขียนออกมาในรูปแบบอักษรภาพเฮียโรกลีฟิก (Hiero glyphics มาจากภาษากรีก Hiero (ศักดิ์สิทธิ์) + glyphics (จารึก)) ซึ่งจารึกเรื่องราวในชีวิตประจำวัน,หน้าที่การงาน ตลอดจนความเชื่อที่มีในยุคนั้น

     อินโฟกราฟิกในยุคประวัติศาสตร์เริ่มต้นในปี ค.ศ. 1626 เมื่อคริสตอฟ ไซเนอร์ (Christoph Scheiner) นักดาราสตร์และนักบวชชาวเยอรมัน ได้ตีพิมพ์หนังสือที่มีการอธิบายลักษณะการหมุนของดวงอาทิตย์ด้วยการวาดรูปอธิบายในหนังสือ จากนั้นปี ค.ศ. 1790 วิลเลียม เพลย์แฟร์ (William Piayfair) วิศวกรและนักดาราศาสตร์การเมืองชาวสกอตแลนด์ ได้ตีพิมพ์แผนภูมิข้อมูลครั้งแรกในหนังสือ The Commercial and Political Atlas ซึ่งว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจของประเทศอังกฤษในศตวรรษที่ 18 โดยเขาได้ใช้แผนภูมิแท่ง แผนภูมิเส้นในการอธิบายข้อมูล และเพลย์แฟร์ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้คิดค้นแผนภูมิวงกลม และแผนภูมิพื้นที่อีกด้วย

     และหนึ่งในอินโฟกราฟิกที่โด่งดังเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1857 โดย ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (Florence Nightingale) พยาบาลชาวอังกฤษที่อธิบายถึงสาเหตุการตายของทหารในแต่ละเดือน ขัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อราชินีวิคตอเรีย (Victoria) โดยมีจุดประสงค์ให้ราชินีให้ความสำคัญกับโรงพยาบาลทหารมากขึ้น เทคนิคที่ใช้สร้างอินโฟกราฟิกนี้เรียกว่า Coxcomb อันเป็นการผสมระหว่างแผนภูมิซ้อนกับกราฟวงกลมโดยกระจากออกจากจุดศูนย์กลางจนดูเหมือนกับกลีบดอกกุหลาบจนต่อมาผู้คนเรียกผลงานชิ้นนี้ว่า Nightingale Rose Diagram

     ตัวอย่างอินโฟกราฟิกที่เริ่มเข้ามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนคือแผนที่รถไฟใต้ดินกรุงลอนดอน (London Underground ground Map) ที่แฮร์รี เบค (Harry Beck) ออกแบบไว้ในปี ค.ศ. 1933 นับได้ว่าเป็นต้นแบบของแผนที่รถไฟทั่วโลก เพราะเป็นการออกแบบที่สวยงาม เรียบง่าย และมีประโยชน์ใช้งานได้จริง หลังจากนั้นอินโฟกราฟิกก็ได้ถูกนำมาใช้ตลอดเวลา ผ่านการพัฒนาในด้านต่างๆ ลักษณะในปัจจุบัน และในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา อัตราความสนใจในอินโฟกราฟิกเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดดอันเนื่องมาจากโซเซียลเน็ตเวิร์คที่เติบโตนั่นเอง

ประเภทของอินโฟกราฟิก

       ในปัจจุบันอินโฟกราฟิกสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ อินโฟกราฟิกที่เน้นด้านผลสำรวจหรืองานวิจัย (Explorative) และเน้นไปด้านทางการถ่ายทอดข้อมูล (Narrative) ซึ่งทั้งสองรูปแบบจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่าง


        อินโฟกราฟิกที่เน้นด้านผลสำรวจหรืองานวิจัยจะให้ความสำคัญด้านข้อมูลหรือตัวเลขโดองค์ประกอบอื่นๆที่ไม่ได้นำมาใช้ลักษณะการออกแบบจะเรียบง่าย ส่วนอินโฟกราฟิกที่เน้นการถ่ายทอดข้อมูลจะให้ในการถ่ายทอดข้อมูลจะให้ความสำคัญด้านข้อมูลเช่นกัน แต่จะเน้นการสร้างความเข้าใจ และดึงดูดความสนใจรวมถึงความสวยงามด้วย

     สังเกตได้ว่าจากกราฟิกที่ใช้ถ่ายทอดข้อมูลทั้งสองจะมีลักษณะเป็นแผนภูมิหรือกราฟเหมือนกันแต่แบบแผนภูมินั้นให้ข้อมูลได้มากแต่เข้าใจได้ยาก ส่วนแบบกราฟจะเข้าใจได้ง่ายกว่า แต่ก็อาจลดทอนความละเอียดของข้อมูลลงไปดังนั้นจุดประสงค์ของสื่อการเรียนการสอนนี้จะเน้นไปที่การออกแบบและการจัดทำอินโฟกราฟิกที่ดูดี น่าสนใจ บนพื้นฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได้ปัจจุบันสื่อต่างๆ โดยเฉพาะโซเซียลมีเดียได้เติบโตอย่างมากทำให้การแชร์ข้อมูลในรูปแบบต่างๆ มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น ซึ่งทำให้อินโฟกราฟิกมีการนำเสนอในรูปแบบใหม่ๆ ตามไปด้วยเช่นกัน
     1) อินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่ง (Static Infographics) คือ การสรุปเนื้อหาลงในหนึ่งหน้าโดย การใช้ไอคอน รูปภาพ และข้อความ มีข้อดีคือผลิตได้ง่าย ต้นทุนในการผลิตต่ำ ผู้ชมสามารถ แชร์อินโฟกราฟิกต่อได้ง่าย ข้อเสียคือหากข้อมูลหนึ่งๆ สามารถจัดแบ่งได้หลายกลุ่มจะยากต่อ การทำความเข้าใจ หรืออาจไม่ดึงดูดความสนใจเท่าที่ควร
     2) อินเตอร์แอ็คทีฟอินโฟกราฟิก (Interactive Infographics) หรืออินโฟกราฟิกที่มีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกับผู้ชม เปลี่ยนการแสดงผลได้ตามสิ่งที่ผู้ชมเลือก อินโฟกราฟิกลักษณะนี้ มักนําไปใช้บนเว็บไซต์มีข้อดีคือ เข้าใจได้ง่ายหากข้อมูลสามารถแบ่งได้หลายกลุ่มหลายรูปแบบ สามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาแต่ข้อเสียคือ ผู้ผลิตต้องมีความเข้าใจในการเขียนโปรแกรมและการจัดการฐานข้อมูลรวมถึงมีข้อจํากัดในการแสดงผลบนอุปกรณ์แต่ละชนิดและมีความยุ่งยากในการจัดพิมพ์
     3) โมชั่นอินโฟกราฟิก (Motion Infographics) หรืออินโฟกราฟิกที่มีการเคลื่อนไหวโดยอาจจะอยู่ในรูปแบบของวิดีโอหรือไฟล์เคลื่อนไหวอื่นๆ มักถูกใช้ในการเล่าเรื่องหรืออธิบายกลไกต่างๆ มีข้อดีคือดึงดูดความสนใจได้มากเข้าใจได้ง่ายแต่ข้อเสียคือมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าอินโฟกราฟิกแบบภาพนิ่งและไม่เหมาะกับข้อมูลที่ต้องใช้เวลาในการทําความเข้าใจรวมถึงมีขนาดของไฟล์ที่ใหญ่ที่สุด โมชันอินโฟกราฟิกนั้นไม่ได้ถูกจํากัดให้อยู่ในรูปของงานกราฟิกเสมอไป อาจใช้การนําเสนอรูปแบบที่ต่างออกไปเพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับอินโฟกราฟิกได้ เช่น องค์กร Active for Ufe รณรงค์และจัดกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กเป็นคนแอ็คทีฟโดยชักชวนเด็กมาออกกําลังกาย ผ่านอินโฟกราฟิกแบบวิดีโอที่มีเหล่าเด็กๆมาช่วยสร้างสีสันและให้ข้อมูลได้อย่างสนุกสนาน โมชั่นอินโฟกราฟิกอีกประเภทหนึ่งที่กําลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบันคือ จิโฟกราฟิก (Gifographic) ซึ่งเป็นการรวมกันระหว่างคําว่า GIF (Graphics Interchange Format) + Graphics + Information เป็นภาพเคลื่อนไหวสั้นๆ วนไปมา เหมาะกับการอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างต่อเนื่องขนาด ไฟล์ไม่ใหญ่มากและผู้ชมส่วนมากจะดูจิโฟกราฟิกหลายรอบเพราะจะพยายามทําความเข้าใจในรายละเอียดแต่ละจุดซึ่งจะทําให้เกิดการจดจํา

สร้างอินโฟกราฟิกด้วยหลักการ 4W2H

1) WHO (ใคร) ส่วนใหญ่แล้วการบอกเล่าเนื้อหาว่าใคร ทําอะไร มักจะอยู่ในการเกริ่นช่วงแรก ๆ ของ ชิ้นงานนําเสนอ เช่น เรากําลังพูดถึงเรื่องประชากรอยู่ จากที่ต้องเขียนอธิบายยาวเหยียด
              -ลองเปลี่ยนเป็นแบบนี้
              - แสดงภาพประชากร
              - แสดงข้อมูลด้วยตัวเลขขนาดใหญ่ พร้อมไอคอนประกอบ
              - แสดงการเปรียบเทียบโดยแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง และใช้ไอคอนประกอบ
นําเสนอด้วยพีระมิดกับหัวข้อ WHO การนําเสนอแบบพีระมิดนั้นมีอยู่ 2 ประเภท
       1. นําเสนอว่าประชากรหรือกลุ่มคนที่เรากําลังจะพูดถึงนั้น มีลําดับขั้นที่สูงกว่าหรือ ต่ำกว่ากันมากน้อยอย่างไร เช่น เรากําลังจะพูดถึงอันดับของเครื่องสําอางทั้ง 10 ยี่ห้อ ก็ใช้การจัดแบบพิระมิดเรียงลําดับไปตั้งแต่ยี่ห้อที่ได้ 5 ดาวจากบนสุดไล่ลงมาจนถึงยี่ห้อที่ได้ 1 ดาวด้านล่างสุด เป็นต้น
       2. นําเสนอทิศทางของเป้าหมาย (Goal) หรือลําดับขั้นตั้งแต่เริ่มต้นว่าเราทําอะไร บ้างจนถึงเป้าหมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วหัวข้อนี้มักปรากฏเป็นสไลด์แรก ๆ ของการนําเสนอ (hierarchy and sequence)

        2) HOW MUCH (เท่าไร) ที่จริงแล้วการเปรียบเทียบจํานวนมากกว่าหรือน้อยกว่าด้วยการใช้แผนภูมินั้นก็ช่วย ให้การนําเสนอข้อมูลชัดเจนอยู่แล้ว แต่จะดีขึ้นกว่าเดิมไหมถ้านําอินโฟกราฟิกเข้ามามีส่วนร่วมกับแผนภูมินั้นๆ ด้วย เพียงนําไอคอนที่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่นําเสนอในแผนภูมิมาใส่แทนความยาวของแผนภูมิแท่ง หรือนํามาวางบริเวณของแผนภูมิต่างๆ ก็จะทําให้ชวนมองและน่าสนใจยิ่งขึ้น

       3) WHERE (ที่ไหน) คำว่า “ที่ใหน” ดูเหมือนจะกว้างไปหากจะมาอธิบายให้ฟัง ที่จริงแล้วการทําอินโฟกราฟิก ภายในหัวข้อ “ที่ไหน” มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน คือ สร้างอินโฟกราฟิกสําหรับการนําเสนอข้อมูล ด้านภูมิศาสตร์และการนําเสนอด้านยุทธศาสตร์ อินโฟกราฟิกเพื่อกล่าวถึงด้านภูมิศาสตร์ ขึ้นชื่อว่า “ที่ไหน” นั่นแปลว่า หากจะตีความเป็นภาพให้เข้าใจได้ง่ายที่สุด ก็คือการนําแผนที่เข้ามาแสดงประกอบนั้นเองลองใช้ภาพวาดเข้ามาประกอบการสร้างอินโฟกราฟิกเพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น อันที่จริงการสร้างอินโฟกราฟิกเพื่อบ่งบอกข้อมูลว่า “ที่ไหน” นั้นไม่จําเป็นว่าต้องเป็นแผนที่อย่าเดียว ข้อมูลใดที่เกี่ยวกับการระบุตําแหน่งก็สามารถสร้างไดอะแกรมขึ้นมาได้ทั้งนั้น อย่างเช่นหากเราจะเล่าถึงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายที่แสดงความผิดปกติของโรคให้ง่ายขึ้น ก็ลองใช้ภาพร่างกายแทนที่จะเขียนเนื้อหายาวเหยียด อินโฟกราฟิกเพื่อกล่าวถึงด้านยุทธศาสตร์ ที่ต้องแบ่งคําว่า “ที่ไหน” ออกเป็น 2 ประเภท นั่นเป็นเพราะคํานี้แปลได้ 2 ความหมายด้วยกัน นั่นคือนอกจากจะแปลตรงตัวได้ว่า “คุณอยู่ที่ไหน” ในแง่ภูมิศาสตร์ (เช่น ฉันอยู่ที่ กรุงเทพฯ) ก็ยังแปลได้ว่า “คุณอยู่ที่ไหน" ในแง่ยุทธศาสตร์ (เช่น ฉันอยู่ในพวกใดพวกหนึ่ง ของกลุ่มคนในกรุงเทพฯ) Venn Chart แผนผังแบบทับซ้อนกัน บางส่วน (Venn Chart) ช่วยให้เราเห็นจุดเด่นของสินค้าและ บริการนั้น ๆ แผนผังแบบนี้โด่งดังและเป็นที่นิยมมาก เนื่องจากเข้าใจง่ายและเหมาะกับการเข้าที่ประชุมเพื่อการวิเคราะห์และระดมสมองกันในงานที่ต้องมีการตัดสินใจที่มีปัจจัย 3 ประกา มาเกี่ยวข้อง เช่น ตัวเรา คู่แข่ง และลูกค้า เป็นต้น

       4) WHEN (เมื่อไร) คําว่า “เมื่อไร” แปลว่าเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาและการนําเสนอข้อมูลที่มีลําดับเวลานั้นใช้วิธีนําเสนอเป็นไทม์ไลน์จะเข้าใจง่ายขึ้นอีกมาก เช่น ใช้ไทม์ไลน์เพื่อการลําดับเหตุการณ์ ก่อนหลัง หรือลําดับ 2 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน เป็นต้น การสร้างอินโฟกราฟิกแบบไทม์ไลน์นี้ไม่จําเป็นต้องใช้ภาพกราฟิกสวยหรูและซับซ้อนเพียงตัดข้อความให้เหมาะสมและใช้ฟอนต์ที่ดูสะอาดตาก็เพียงพอแล้ว หากต้องการทําอินโฟกราฟิกไทม์ไลน์แบบที่มีไอคอนประกอบด้วยดังภาพตัวอย่างด้านล่าง ก็สามารถทําได้เองตามเว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอย่าง WWW.adioma.com แต่จะสังเกตว่าความสะอาดตานั้นจะสู้การใส่ไอคอนประกอบน้อยๆ หรือใช้เพียงวงกลมง่ายๆ แบบภาพตัวอย่างในหน้าที่แล้วไม่ได้ หากจะต้องใช้ในการนําเสนออะไรสักอย่างที่มีเวลาไม่มาก แนะนําให้ทําอินโฟกราฟิกไทม์ไลน์แบบสะอาดตาดีกว่า ส่วนตัวอย่างด้านล่างนี้เหมาะกับการทําเป็นโปสเตอร์ที่มีเวลาพิจารณาข้อมูลได้

       5) HOW (อย่างไร) การนําเสนอหัวข้อ How แบ่งออกได้เป็น
       1. เพื่อใช้ในการนําเสนอเหตุและผล (Cause Then Effect) เคยเห็นอินโฟกราฟิกอะไรที่ช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้นบ้างไหม อย่างเช่นคําถามที่ให้เราเลือกว่าจะตอบใช่หรือไม่ แล้วกราฟิกก็จะพาเราไปสู่คําตอบที่แท้จริงตามที่เราเลือกนั้นแหละคือการแสดงขั้นตอนการตัดสินใจ
       2. เพื่อใช้ในการนําเสนอความสําคัญของบางสิ่ง อินโฟกราฟิกรูปแบบนี้จะช่วยแสดงให้เห็นว่าคนหรือสิ่งของที่เรากําลังนําเสนอในแต่ละชิ้นนั้นอยู่ในอันดับไหนของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งเราสามารถแสดงอินโฟกราฟิกเหล่านี้ได้ 3 ประเภทด้วยกัน
              2.1 การแสดงลําดับขั้นการตัดสินใจขององค์กร ช่วยให้เรารู้ว่าใครมีอํานาจสูงหรือต่ำขนาดไหน
              2.2 การแสดงคอนเซปต์หรือแนวคิดของกลุ่มใหญ่ แล้วแตกเป็นกลุ่มย่อยเพื่อแสดงหมวดหมู่ของแต่ละสิ่ง
              2.3 ใช้แผนภูมิ ต้นไม้ซึ่งใช้บ่อยในการจัดระเบียบโครงสร้างต่างๆ เช่น ใช้แผนภูมิต้นไม้บอกโครงสร้างของครอบครัวและวงศ์ตระกูล

       6) WHY (ทําไม) เมื่อกําลังจะเล่าเนื้อหาผ่านหัวข้อ “ทําไม” เรามักนําเสนอเนื้อหาในส่วนนี้แบบเปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย จุดแข็ง จุดอ่อน (เช่น ทําไมถึงต้องเลือกคอมพิวเตอร์ยี่ห้อนี้ มีข้อดีข้อ เสียอย่างไรและวิธีการนําเสนอแบบง่ายคือการเปรียบเทียบโดยใช้ matrix ที่เรามักเห็นบ่อยเวลาทํา SWOT Analysis ซึ่งวิธีการทําอินโฟกราฟิกแบบนี้
เราควรทําลงบนกระดาษเสียก่อน หาข้อดีข้อด้อยให้ครบแล้วค่อยนํามาแสดงให้ผู้ฟังเห็นภาพมากขึ้น ตัวอย่างแรกนี้เกิดขึ้นในยุคที่ผลิตภัณฑ์ของสตีฟ จอบส์ กําลังตกต่ำ เพราะมีสินค้าเยอะมากเกินไปจึงเริ่มแบ่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อรองรับการใช้งานที่ต่างกันให้เห็นอย่างชัดเจนโดยแบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในบ้าน ผลิตภัณฑ์แบบพกพาได้ ผลิตภัณฑ์สําหรับคนทั่วไป และผลิตภัณฑ์สําหรับคนที่ต้องการความแรง ซึ่งพอทําเป็นตารางเปรียบเทียบแบบนี้ก็เห็นเลยว่าเรามองแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของอินโฟกราฟิก

       อินโฟกราฟิกสามารถประยุกต์ใช้ได้หลากหลายรูปแบบ ซึ่งข้อดีของอินโฟกราฟิกสามารถสรุปได้ดังนี้
              1) มีเสน่ห์และดูน่าสนใจและผู้ชมไม่จำเป็นต้อใช้เวลาจดจ่อมากนัก
              2) ลดปัญหาด้านข้อมูลที่เยอะเกินความจำเป็น
              3) ง่ายต่อการรับชมจะความเข้าใจ
              4) เพิ่มประสิทธิภาพในการจดจำข้อมูล ผ่านกราฟิกรูปแบบต่างๆ
              5) ง่ายต่อการเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก ฝ่าข้อจำกัดด้านเวลาอายุ เชื้อชาติและภาษา
              6) ผู้คนชอบแชร์อินโฟกราฟิกผ่านโซเซียลเน็ตเวิร์ค

ประโยชน์ของอินโฟกราฟิก

       อินโฟกราฟิกนอกจากจะช่วยให้ผู้ชมเข้าใจ ในทันที ยังส่งผลต่อความคิดของผู้ชมในระยะ ยาวต่อไปด้วย ตัวอย่างประโยชน์ของอินโฟ กราฟิกในระยะยาวสามารถสรุปได้ดังนี้
              1) ช่วยให้เห็นทิศทางในอนาคต อินโฟกราฟิกหลายชนิดสร้างขึ้นมาจากข้อมูลใน อดีตรวบรวมมาถึงปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ชมคาดเดาทิศทางที่ “น่าจะ” เกิดขึ้นในอนาคตพร้อมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นต่อไป อีกทั้งยังช่วยขับเน้นการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาและสนับสนุนหรือยับยั้งการเปลี่ยนแปลงนั้น
              2) ช่วยตั้งเป้าหมายในอนาคต เมื่อผู้ชมอินโฟกราฟิกคาดเดาทิศทางที่ “น่าจะ” เกิดขึ้น แล้ว ก็จะตั้งเป้าหมายไปสู่จุดนั้นยกตัวอย่าง เช่น เมื่อนํายอดขายในอดีตจนถึงปัจจุบันของ บริษัทมาสร้างเป็นแผนภูมิ เราจะพอเดายอด ขายที่จะเกิดขึ้นในปีถัดไปได้สมองของเราจะจดจําตัวเลขดังกล่าวและตั้งเป็นเป้าหมายในใจซึ่งจะชักนําให้เราทําทุกวิถีทางเพื่อให้ได้ยอดขายตามตัวเลขนั้นๆ
              3) ช่วยทําให้แบรนด์เป็นที่รู้จักอินโฟกราฟิก สามารถประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดของบริษัทหรือองค์กรได้ ผู้ชมสามารถจดจําภาพลักษณ์ของแบรนด์และรู้สึกคุ้นเคยกับแบรนด์โดยอัตโนมัติซึ่งเป็นประโยชน์กับบริษัทหรือองค์กรในระยะยาว               4) ช่วยกระตุ้นให้เกิดสังคมแห่งการแบ่งปันข้อมูลอินโฟกราฟิกเป็นสิ่งที่สะดวกต่อการแชร์ต่อไปให้ผู้อื่น ดังนั้น ทุกๆคนสามารถเป็นได้ทั้งรับและผู้ส่งข้อมูล ทําให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สามารถกระจายไปสู่ทุกคนอย่างรวดเร็ว ยกตัวอย่างเช่น หากเกิดแผ่นดินไหวทางการสามารถใช้อินโฟกราฟิกประกาศพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบได้อย่างรวดเร็วแทนการแสดงเป็นชื่อของพื้นที่ที่ผู้ชมต้องเสียเวลาไล่หาชื่อพื้นที่ของตนเอง รวมถึงการสื่อสารอาจไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ไม่รู้ระดับความอันตรายและอาจรับมือกับเหตุการณ์ดังกล่าวได้ไม่ทัน ท่วงที ผู้ชมสามารถแบ่งปันอินโฟกราฟิกต่อไปยังผู้อื่นได้อย่างรวดเร็ว ทําให้การกระจายข่าวเป็นไปอย่างทั่วถึง ลดการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมาก
              5) ช่วยสร้างอาชีพใหม่แต่เดิมหน่วยงานต่างๆ มักให้ความสําคัญกับข้อมูลดิบปริมาณมหาศาลแต่ยังไม่ให้ความสนใจกับการแปลผลและถ่ายทอดให้กับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันเมื่ออินโฟกราฟิกเริ่ม เป็นที่นิยมหน่วยงานเหล่านั้นจึงมองหาผู้ที่จะเข้ามารับหน้าที่ทําอินโฟกราฟิกทั้งในรูปแบบของบริษัทหรือฟรีแลนซ์ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดีที่ช่วยให้ผู้คนมีโอกาสได้แสดงฝีมือด้านการออกแบบรวมถึงได้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมทั้งสองฝ่ายเกิดเป็นธุรกิจที่ยั่งยืนต่อไป

วิดีโอที่น่าสนใจ