วงล้อสี

แหล่งที่มา   :   www.1stwebdesigner.com.com

สีเดียว (Monochrome)

      การใช้สี สีเดียวหรือการใช้สีที่แสดงความเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว แต่มีการลดหลั่นกันในเรื่องน้ำหนักสี เพื่อให้เกิดความแตกต่าง วิธีการใช้สีเอกรงค์ คือจะใช้สีใดสีหนึ่งที่เป็นสีแท้(Hue)หรือมีความสด (Intensity) เป็นตัวยืนเพียงสีเดียวให้เป็นจุดเด่นของภาพส่วนประกอบรอบๆนั้นจะใช้สีเดียวกันแต่ลดความสดของสีให้น้อยกว่าสีหลัก สีที่นำมาเป็นส่วนประกอบอาจแบ่งน้ำหนักได้ตั้งแต่ 3 - 6 สี


สีข้างเคียง (Analogous)

     สีที่อยู่เคียงข้างกันทั้งซ้ายและขวาในวงจรสี มีความคล้ายคลึงกันหากนำมาจัดอยู่ด้วยกันจะมีความกลมกลืนกัน หากอยู่ห่างกันมากเท่าใดความกลมกลืนก็จะยิ่งน้อยลงความขัดแย้งก็จะมีมากขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นสีในวรรณะเดียวกัน สีข้างเคียงได้แก่
          - สีแดง - ส้มแดง - ส้ม หรือ ม่วงแดง -แดง - ส้มแดง
          - สีส้มเหลือง - เหลือง - เขียวเหลือง หรือ ส้มแดง - ส้ม - ส้มเหลือง
          - สีเขียว - เขียวน้ำเงิน - น้ำเงิน หรือ เขียวน้ำเงิน - เขียว - เขียวเหลือง
          - สีม่วงน้ำเงิน - ม่วง - ม่วงแดง หรือ ม่วงน้ำเงิน- น้ำเงิน - เขียวน้ำเงิน

สีคู่ตรงข้าม (Dyads)

     คือ สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี การเลือกใช้คู่สีคู่ตรงข้ามจะทำให้งานที่ได้มีความสะดุดตาในการมอง ควรแบ่งพื้นที่ของสีในภาพของการใช้สีใดสีหนึ่งมากกว่าอีกสีหนึ่ง โดยประมาณมักจะใช้สีหนึ่ง 70% และอีกสีหนึ่ง 30% ภาพที่ได้ก็จะคงความมีเอกภาพ และจะยังมีความเด่นสะดุดตาได้ในตัว

สี 3 สี (Triads)

     เป็นการใช้สี 3 สี ในช่วงห่างระหว่างสีทั้ง 3 เท่ากัน ถ้าหากลากเส้นระหว่างสีทั้ง 3 สี จะได้สามเหลี่ยมด้านเทา คือ มีช่วงหาง 2 ช่วงเท่ากัน แตะกับอีกด้านหนึ่งช่วงหางจะมีความยาวกว่า ถ้าลากเส้นระหว่างสีดังกล่าว จะได้รูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว

สี 4 สี (Tetrads)

     โครงสี 4 สี คือ การใช้วงจร 4 สี โดยเลือกสีที่มีช่วงห่างระหว่างสีเทา คือถ้าลากเส้นเชื่อม 4 สี จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า

สี 6 สี (Hexads)

เป็นการเลือกใช้สี 6 สี แบบไม่จำกัด

วิดีโอที่น่าสนใจ