กระบวนการผลิตอินโฟกราฟิกสามารถแบ่งออกได้เป็น 10 ขั้นตอน ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะเกี่ยวข้องกับ
3 ตําแหน่ง คือ บรรณาธิการ (Editor), นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) และนักออกแบบ (Designer) แต่ละขั้นตอนอธิบายได้ดังนี้
1) เลือกหัวข้อ (บรรณาธิการ)
การเลือกหัวข้อที่จำนำมาทำเป็นอินโฟกราฟิกเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องตัดสินใจและอาจเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะแม้ว่าเราจะหาข้อมูลมาดี หรืออกแบบอินโฟกราฟิกได้สวยงามเพียงใดมันก็อาจจะถูกมองข้ามไปได้ง่ายหากหัวข้อดังกล่าวไม่น่าสนใจพอ ในการเลือกหัวข้อเราควรถามตนเองถึงจุดประสงค์ของอินโฟกราฟิกเสียก่อนว่ามีเป้าหมายเป็นอย่างไร เช่น ต้องการสร้างช่องทางให้ผู้ชมเข้าถึงมากขึ้น ต้องการสื่อสารไปยังผู้ชมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และใครคือกลุ่มเป้าหมายที่คุณต้องการสื่อสารถึง เทคนิคเบื้องต้นในการเฟ้อหาหัวข้อได้แก่
- เลือกหัวข้อการทำอินโฟกราฟิก ลองเลื่อนเฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์แบบคร่าวๆ ดูว่าเพื่อนๆของคุณกำลังสนใจในเรื่องใด รวมถึงตรวจสอบเทรนของหัวข้อต่างๆ ด้วย Google Trends หากคุณสามารถทำอินโฟกราฟิกที่อยู่ในกระแสได้ทันเวลา มันจะช่วยให้อินโฟกราฟิกของคุณได้รับความสนใจและถูกแชร์ต่อออกไปอย่างรวดเร็ว เพราะในโลกออนไลน์ผู้ที่สามารถแชร์เรื่องที่อยู่ในกระแสได้เร็วตนเองก็จะพึงพอใจมากขึ้น พยายามคิดหาทางให้หัวข้อดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ บริษัท หรือ แบรนด์ของคุณในทางใดทางหนึ่ง หรืออาจใช้วิธีเลือกหัวข้อที่ดูเหมือนจะไม่เกี่ยวอะไรกับเราเลยในตอนแรก แต่มาหักมุมลงท้ายด้วยความสัมพันธ์ชนิดที่คาดไม่ถึง ซึ่งเป็นเทคนิคการดึงดูดความสนใจของผู้ชมชนิดหนึ่ง
- ให้ความรู้ ผู้คนมักมองหา Information จาก Infographic อินโฟกราฟิกที่มักประสบความสำเร็จคืออินโฟกราฟิกที่เปิดหูเปิดตาในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ลองถามตัวเองดูว่าสายงานที่คุณอยู่อะไรคือข้อมูลที่น่าสนใจที่ผู้อื่นไม่รู้หรือเข้าใจผิดมาตลอด ลองหยิบข้อมูลนั้นมาตั้งเป็นหัวข้อของอินโฟกราฟิก
- หาหัวข้อจากการสอบถาม หากคุณไม่แน่ใจว่าผู้ชมกําลังสนใจหัวข้ออะไร อย่าเดาให้ออกไปถามพวกเขาและบางครั้งคุณจะประหลาดใจกับสิ่งที่พวกเขาบอกกับคุณ พวกเขายินดีที่จะมีส่วนร่วมกับอินโฟกราฟิกด้วยและเมื่ออินโฟกราฟิกของคุณเสร็จสมบูรณ์ พวกเขาจะเป็นผู้ที่ช่วยแชร์อินโฟกราฟิกนั้นให้อีกทางหนึ่งคุณอาจเลือกสอบถามผ่านทาง เฟชบุ๊ค, ทวิตเตอร์ หรือใช้กูเกิลฟอร์ม (Google Form), เซอร์เวย์มังกี้ (SurveyMonkey) สําหรับการทําแบบสอบถามที่เป็นทางการมากขึ้น หรือใช้วิธีสอบถามผ่านทางโทรศัพท์ก็ได้เช่นกัน
- อย่าพยายามขาย หากเป้าหมายคือการดึงดูดให้เข้าชมอินโฟกราฟิกเพื่อสร้างช่องทางเข้าถึงแบรนด์ อย่าเลือกใช้หัวข้อที่มุ่งไปทางการขายสินค้าหรือบริการ เพราะจะทําให้ผู้ชมเลิกสนใจอินโฟกราฟิกนั้นได้ง่าย แม้จะออกแบบมาสวยงามเพียงใด อินโฟกราฟิกที่ดีควรเริ่มจากการทําให้ผู้ชมสนใจและเพลิดเพลินไปกับข้อมูล พวกเขาจะรับรู้ถึงแบรนด์ได้โดยไม่ถูกบังคับและหากพวกเขาต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าไปชมได้ในเว็บไซต์ซึ่งเป็นที่ที่คุณสามารถเสนอขายสินค้าและบริการต่อไป
- เลือกหัวข้อที่ล้ำหน้ากว่าผู้อื่น ลองมองหาสิ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับโลก อาจเป็นการค้นพบสิ่งใหม่หรือเป็นกระแสที่กําลังเติบโตโดยคุณอาจทําอินโฟกราฟิกเพื่อให้ข้อมูลปัจจุบันที่ทันสมัยมากที่สุดหรือให้เห็นทิศทางที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพราะอนาคตเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการรู้ล่วงหน้าทําให้อินโฟกราฟิกของคุณได้รับความสนใจจากผู้ชม ได้ง่าย ซึ่งการจะได้มาซึ่งข้อมูลเหล่านี้คุณอาจจําเป็นต้องสอบถามจาก นักวิเคราะห์, ผู้เชี่ยวชาญในสายอาชีพ หรืออาจารย์ เป็นต้น
เมื่อได้หัวข้อที่ต้องการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ให้ตั้งชื่อหัวข้อสําหรับอินโฟกราฟิกโดยชื่อหัวข้อควรจะสั้น ดึงดูดความสนใจ และเข้าใจได้ทันทีว่า สื่อถึงอะไร
2) สํารวจและวิจัย (บรรณาธิการ) เมื่อกําหนดหัวข้อได้เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการสํารวจว่ามีข้อมูลใดบ้างที่สัมพันธ์กับหัวข้อดังกล่าว เช่น หากเลือกหัวข้อว่า “ค่าใช้จ่ายในการ แต่งงาน” คุณอาจต้องเริ่มวางแผนสํารวจข้อมูลเกี่ยวกับประชากรศาสตร์ เช่น เพศ, อายุ, พื้นฐานรายได้รวมถึงตีกรอบว่าต้องการสํารวจในพื้นที่ใด เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีค่าครองชีพไม่เท่ากันหรือสํารวจในกรอบเวลานานเท่าใดเพราะค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาเช่นกัน การกําหนดขอบเขตของการสํารวจและวิจัยจะช่วยให้เราเห็นภาพรวมข้อมูลและรู้ว่าจะหาข้อมูลจากแหล่งใดได้บ้าง ช่วยให้ประหยัดเวลาและลดต้นทุนในการทําอินโฟกราฟิก
3) รวบรวมและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล (บรรณาธิการ : นักวิเคราะห์ข้อมูล) เมื่อสํารวจและวิจัยเพื่อกําหนดกรอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไป คือการรวบรวมและประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยข้อมูลสามารถ แบ่งได้ 3 ระดับ ได้แก่
- ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่มาจากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงโดยไม่แต่งเติม,ใส่ความคิดเห็นลงไป ซึ่งข้อมูลปฐมภูมินี้เป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือมากที่สุด แต่จําเป็นต้องใช้เวลาและ มีค่าใช้จ่ายในการได้มาซึ่งข้อมูล ตัวอย่างข้อมูลปฐมภูมิ เช่น ต้นฉบับ ตัวเขียน, รายงานการวิจัย, วิทยานิพนธ์ เป็นต้น
- ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นการสรุปข้อมูลมาเขียนขึ้นใหม่ให้เข้าใจง่าย สามารถนํามาใช้ได้เลย อีกทั้งยังประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายจึงมักถูกเลือกมาใช้มากที่สุด แต่มีข้อเสียคือ ข้อมูลบางอย่างอาจไม่ตรงกับจุดประสงค์ที่ต้องการโดยสมบูรณ์ หรือไม่ละเอียดเพียงพอ และหากเกิดความผิดพลาดของข้อมูลผู้ใช้จะไม่สามารถรับรู้ได้เลย ส่งผลให้ผู้ใช้งานข้อมูลสรุปผิดพลาดไปด้วย ตัวอย่างข้อมูลทุติยภูมิ เช่น หนังสือ, วารสาร,บทคัดย่อ, บทวิจารย์ เป็นต้น
- ข้อมูลตติยภูมิ (Tertiary Data) เป็นการชี้แนะแหล่งข้อมูลสองแบบก่อนหน้า โดยไม่ได้ให้เนื้อหาโดยตรง เช่น บรรณานุกรม, ดรรชนี เป็นต้น
4) วิเคราะห์ข้อมูล (บรรณาธิการ + นักวิเคราะห์ข้อมูล) ข้อมูลที่ได้มาจากขั้นตอนที่สามบางครั้งยังเป็นข้อมูลดิบที่ยังไม่ได้ ผ่านการกรองและวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งที่จําเป็น ในการสกัดข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้สามารถนําไปใช้งานต่อได้ง่าย ข้อมูลทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณ
- ข้อมูลเชิงเนื้อหา สามารถวิเคราะห์แยกได้เป็นตามประเด็น,ตามลําดับความสําคัญ, ตามกาลเวลา, ตามกลุ่มบุคคล, ตาม สถานที่, ตามปัญหา, ตามวิธีแก้ไข, ตามตําแหน่งผู้ให้ข้อมูล,ตามวิธีรวบรวมข้อมูล, ตามคําถามหรือสมมติฐาน เป็นต้น
- ข้อมูลเชิงปริมาณจะใช้สถิติศาสตร์มาช่วยในการวิเคราะห์และแสดงผลในรูปแบบของแผนภูมิหรือตารางข้อมูล ซึ่งจะกล่าวถึง โดยละเอียดอีกครั้งในบทถัดไป
5) เชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นเรื่องราว (บรรณาธิการ + นัก วิเคราะห์ข้อมูล + นักออกแบบ) อินโฟกราฟิกที่ดีควรมีการผูกข้อมูล, องค์ประกอบต่างๆ เช่น แผนภูมิ รูปภาพประกอบให้สัมพันธ์กันเป็นเรื่องราวภายใต้หัวข้อที่กําหนดไว้ตั้งแต่ตอนต้น ผู้ชมมักให้ความสนใจกับอินโฟกราฟิกที่มีเนื้อหาน่าติดตามสอดคล้องกันตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ในหัวข้อนี้อาจเชิญนักออกแบบมาร่วมในการทํางานเพื่อกําหนดทิศทางของการออกแบบให้สอดคล้องกับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นการเลือกสไตล์ในการนําเสนอข้อมูล,การเลือกใช้สีหรือการจัดวางตําแหน่งข้อมูลรวมถึงองค์ประกอบต่างๆให้เหมาะสมกับทิศทางการมองของผู้ชม เป็นต้น
6) ร่างไอเดียอินโฟกราฟิก (นักออกแบบ) เมื่อได้ข้อมูลพร้อมสําหรับการทําอินโฟกราฟิกแล้ว หน้าที่ต่อไปคือ การร่างไอเดียนําเสนออินโฟกราฟิกซึ่งนักออกแบบจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสูงสุดในหัวข้อนี้ เริ่มต้นนักออกแบบอาจเขียนข้อมูลสั้นๆ ลงบนกระดาษโพสต์อิต (Post-it) ติดไว้บนกระดาษและสลับตําแหน่งของข้อมูลเพื่อหารูปแบบที่เข้าใจได้ง่ายที่สุด กําหนดตําแหน่งของหัวข้อสําคัญและสามารถออกแบบให้น่าสนใจได้ จากนั้นจึงร่างอินโฟกราฟิกขึ้นเพื่อให้ เห็นภาพรวมแบบคร่าวๆเสนอต่อสมาชิกในทีมต่อไป
7) ปรับแต่ง (บรรณาธิการ + นักวิเคราะห์ + นักออกแบบ) ร่วงไอเดียอินโฟกราฟิกเบื้องต้นนั้นอาจไม่ถูกต้องหรือไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของอินโฟกราฟิก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการปรับแต่งรูปแบบซึ่งต้องประชุมร่วมกันระหว่างบรรณาธิการ นักวิเคราะห์ข้อมูลและนักออกแบบ ซึ่งบางครั้งเราอาจจะพบข้อมูลของเรายังมีขาดหรือเกินอยู่จำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มหรือตัดข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ก่อนจะออกแบบอินโฟกราฟิกจริง
8) ออกแบบอินโฟกราฟิก (นักออกแบบ) เมื่อแบบร่างได้รับการปรับแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอบต่อไปคือ การออกแบบอินโฟกราฟิกตามสไตล์และชุดสีที่กําหนดเอาไว้ กําหนดขนาดและความละเอียดของอินโฟกราฟิกให้แน่นอน โดยขนาดขึ้นกับจุดประสงค์ว่าต้องการนําเสนอที่ใดบนสิ่งพิมพ์, บนเว็บไซต์ หรือโซเชียลมีเดีย เป็นต้น อย่าลืมระบุแหล่งที่มาและองค์กรที่เป็นเจ้าของอินโฟกราฟิกลงไปด้วย ควรบันทึกไฟล์ต้นฉบับเก็บไว้เสมอเพราะมีโอกาสที่ต้องแก้ไข เพื่อ หรือเพิ่มเติมข้อมูลในอนาคต
9) ทดสอบ (บรรณาธิการ + นักวิเคราะห์ข้อมูล + นักออกแบบ) เมื่อออกแบบอินโฟกราฟิกเสร็จสิ้น ก่อนจะนําไปเผยแพร่ควรนำอินโฟกราฟิกไปทดสอบกับกลุ่มผู้ชมตัวอย่างหลายๆ กลุ่มเสียก่อนเพราะบางครั้งความแตกต่างด้านเพศ, อายุ, เชื้อชาติ, ภาษา, ศาสนา อาจส่งผลให้มีความหมายของอินโฟกราฟิกไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
10) เผยแพร่อินโฟกราฟิกและครีเอทีฟ คอมมอนส์ (บรรณาธิการ + นักวิเคราะห์ ข้อมูล + นักออกแบบ) ขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการผลิตอินโฟกราฟิกคือ การเผยแพร่อินโฟกราฟิกผ่านช่องทางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์เว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดีย โดยเราสามารถติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากอินโฟกราฟิกนั้นได้โดยการนับจํานวนผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ (Site Counter),ยอดวิว (View), ยอดกดถูกใจ (Like), ยอดแชร์ (Share) บนโซเชียลมีเดีย รวมถึงสามารถติดตามความคิดเห็นของผู้ชมได้ตลอดเวลา เราควรเลือกเวลาที่เหมาะสมในการเผยแพร่ โดยอาศัยข้อมูลช่วงเวลาที่มีผู้ใช้งานสูงสุดและอาจใช้วิธีการโปรโมทโฆษณาเพื่อให้ได้ ผู้ชมเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน แต่ควรกําหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะโปรโมตให้ถูกต้องพยายามทําให้อินโฟกราฟิกนั้นมีชีวิตคือมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา เพราะจะช่วยให้มีผู้เข้าถึงอินโฟกราฟิกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินโฟกราฟิกที่เป็นกระแสอยู่ในขณะนั้นการมีผู้ชมช่วยแชร์ออกไปจะยิ่งทําให้ผู้เข้าถึงมากขึ้นซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะสามารถนําไปใช้ประกอบการวิเคราะห์อินโฟกราฟิก เพื่อนําไปปรับปรุงการออกแบบอินโฟกราฟิกในครั้งถัดไป
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอินโฟกราฟิก
Adobe Photoshop
Adobe illustrator