กลเม็ดการผลิตอินโฟกราฟิกให้ดูดี

แหล่งที่มา   :   www.freepik.com

สาระสำคัญต้องโดดเด่นที่สุด

     เมีหลายๆครั้งที่ในระหว่างการออกแบบ นักออกแบบจะโฟกัสไปที่การออกแบบให้สวยงามและหลงลืมสาระสําคัญที่ต้องการสื่อไปยังผู้ชมทําให้อินโฟกราฟิกที่ได้ดูสวยงามแต่ยากแก่การเข้าใจ ดังนั้นก่อนทําอินโฟ กราฟิกนักออกแบบต้องระบุใจความสําคัญที่ต้องการให้ผู้ชมรับรู้และพยายามออกแบบให้คงไว้ซึ่งสาระสําคัญ หรือทําให้สิ่งที่สําคัญที่สุดโดดเด่นมากที่สุดเสมอและพึงระลึกไว้ เสมอว่าความเรียบง่ายคือสิ่งที่ดีที่สุด ตัวอย่างเช่น หากมีชุดข้อมูลที่นํามาสร้างเป็นแผนภูมิเส้นที่แสนจะยุ่งเหยิงชุดหนึ่ง
     เมื่อสร้างขึ้นมาแล้วคําถามคือ ข้อมูลชุดนี้บอกอะไรแก่เราบ้าง ? ซึ่งหลายคนหรือแม้แต่ตัวนักออกแบบเองก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เห็นเบื้องหน้านี้คืออะไร เพราะมันดูไม่รู้เรื่องเอาเสียเลย
     นักออกแบบบางคนเกรงว่าแผนภูมิเส้นดังกล่าวจะมองเห็นตัวเลขไม่ชัดเจนเลยตัดสินใจใส่ตารางข้อมูลเพิ่มเข้าไปอีกซึ่งทําให้ผู้ชมสับสนมากกว่าเดิม
แล้วเราควรจะทําอย่างไรเพื่อให้แผนภูมิดูเข้าใจได้ง่าย ? เทคนิคที่ง่ายที่สุดคือการถามตัวเองว่าหากเราต้องเป็นคนนําเสนอรายงานนี้ เราจะบอกอะไรกับผู้ชมเช่น ยอดขายในปีล่าสุดมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นนักออกแบบต้องโฟกัสไปที่ข้อมูลปีล่าสุด กําหนดเป็นสาระสําคัญและทําให้ข้อมูลในปีล่าสุดโดดเด่นมากกว่าข้อมูลอื่นๆที่มีความสําคัญรองลงมาหรือหากต้องการให้ข้อมูลของปีอื่นๆ ดูแตกต่างกันด้วย อาจเลือก ใช้เทคนิคการเปลี่ยนสีของเส้นให้แตกต่างกัน โดยใส่ความโปร่งใสให้ข้อมูลปีสุดท้ายโดดเด่นที่สุดนําเอาป้ายกํากับข้อมูลไปไว้ที่ปลายของแต่ละเส้น เอาเส้นตารางด้านหลังออกและใส่ข้อมูลตัวเลขปีสุดท้ายกํากับและถ้าหากต้องการให้ผู้ชมรู้สึกว่าปีสุดท้ายเติบโตขึ้นอย่างมาก ให้เปลี่ยนค่าเริ่มต้นของแกนตั้งเสียใหม่


อำนวยความสะดวกให้ผู้ชม

     สมาธิของผู้ชมนั้นมีขีดจํากัดและถูกรบกวนได้โดยง่าย หากการออกแบบนั้นเพิ่มความลําบากในการรับชมก็มักส่งผลให้ผู้ชม ละความสนใจไปหาสิ่ง ตัวอย่างเช่น แผนภูมิฟองสบู่ที่แสดงอยู่ทางด้านขวานักออกแบบอาจเล็งเห็นว่าพื้นที่ที่ให้ใส่ข้อความในวงกลมนั้นไม่เพียงพอเลยเลือกใช้วิธีเพิ่มคําอธิบายแต่ละสีไว้ด้านล่างแผนภูมิเพื่ออำนวยความสะดวกในการออกแบบให้เพื่ออํานวยความสะดวกกับตนเอง
     แต่การอํานวยความสะดวกนี้ต้องแลกมาด้วยความยุ่งยากของผู้ชม สมมติว่าผู้ชมสนใจว่าวงกลมสีแดงวงใหญ่สุดหมายถึงอะไร พวกเขาต้องก้มมองดูใต้แผนภูมิและหาคําอธิบายว่าสีแดงหมายถึงอะไรก่อนจะต้องเงย หน้ากลับไปดูแผนภูมิอีกครั้งกว่าผู้ชมจะเข้าใจข้อมูลทั้งหมดก็ต้องก้มๆเงยๆ รวม 10 ครั้ง พอดียิ่งหากลําดับการดูฟองสบู่ไม่ตรงกับลําดับของคําอธิบายด้านล่าง ผู้ชมก็ต้องใช้เวลาในการไล่หาข้อมูลเพิ่มขึ้นอีก ซึ่งมาก พอที่ทําให้พวกเขาเบื่อและหันไปสนใจอย่างอื่นมากกว่า
ดังนั้นเพื่ออํานวยความสะดวกให้ผู้ชม ข้อมูลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกันก็ควรจัดตําแหน่งให้อยู่ใกล้กันให้ผู้ชมอ่านแล้วเข้าใจชัดเจนเป็นจุดๆ ในกรณีแผนภูมิฟองสบู่ข้างต้นก็อาจปรับปรุงใหม่ได้หรือเปลี่ยนข้อความเป็นพิกโตแกรม
     ถ้าเป็นแผนภูมิเส้นก็ให้ระบุความหมายของแต่ละเส้นไว้ที่ปลายเส้นแทนการระบุไว้ด้านล่างของแผนภูมิซึ่งดูยากกว่าหรือในกรณีของแผนภูมิวงกลมที่ต้องมีการหมุนทิศทางของตัวอักษร ก็ควรออกแบบให้ง่ายต่อการอ่าน อย่าให้ผู้ชมต้องกลับหัวเพื่ออ่านข้อความนั้น

กำหนดจังหวะให้ดี

     จังหวะนั้นเกิดขึ้นจากการบริหาร "ที่ว่าง” ระหว่างองค์ประกอบซึ่งจังหวะนั้นส่งผลต่อความรู้สึกของผู้ชมรวมถึงเพิ่มความเรียบร้อยหรือสร้างความยุ่งเหยิงให้กับผลงานได้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีกล่องข้อมูลอยู่ 4 กล่องจัดระยะห่างระหว่างกล่องให้เท่าๆกัน จะให้ความรู้สึกถึงการอ่านข้อมูลอย่างสม่ำเสมอแต่ละกล่องให้ข้อมูลทั่วๆไปและมีความสําคัญเทียบเท่ากัน
ผู้ชมจะรู้สึกว่ากล่องข้อมูล 3 กล่องแรกนั้นเกี่ยวข้องกัน แต่ข้อมูลในกล่องที่ 4 นั้นแปลกแยกจากคนอื่น ซึ่งดูโดดเด่นและน่าจะมีข้อมูลอะไรเป็นพิเศษที่ 3 กล่องแรกไม่มีแต่ถ้าหากนักออกแบบละเลยที่จะจัดการกับจังหวะจนได้ผลลัพธ์ออกมาดังรูปสุดท้ายผู้ชมจะรับรู้ได้ถึงความไม่เรียบร้อยไร้แบบแผนและยากต่อการอ่านอย่างต่อเนื่องนั่นเอง
     ดังนั้น ทุกครั้งที่ต้องแบ่งแยกข้อมูลออกเป็นส่วนๆ อย่าลืมว่าเรา ต้องการนําเสนอให้เห็นความต่อเนื่อง การแบ่งกลุ่ม หรือแยกให้เห็นส่วน ที่พิเศษกว่าปกติ และเลือกกําหนดจังหวะให้เหมาะสมกับงาน

ผสมผสานกราฟิกต่างๆเข้าด้วยกัน

     กราฟิกไม่จําเป็นต้องถูกใช้อย่างโดดเดี่ยวเสมอไป การผสมผสานกราฟิกเข้าด้วยกันจะช่วยให้ผลงานออกมาน่าสนใจเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น หากเราต้องการนําเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สายตาในแต่ละวันเดิมอาจต้องเลือกใช้สองกราฟิก เช่น แผนภูมิวงกลม และพิกโตแกรม แต่หากเราผสมผสานกราฟิกเข้าด้วยกัน ผลลัพธ์ที่ได้จะดูน่าสนใจขึ้นอีกมาก ด้วยการผสมผสานกราฟิกนี้นอกจากจะช่วยในเรื่องของความสวยงามแล้ว ยังทำให้เรามีพื้นที่ในการนำเสนอมากขึ้น และลดจำนวนกราฟิกส่วนเกินออกไปให้ผลงานเรียบง่ายขึ้น
     สิ่งสําคัญในการผสมผสานกราฟิกคือการพยายามหา “จุดร่วม” ของกราฟิกทั้งสองและนํามันมาผสานรวมกันนอกเหนือจากการผสมผสานกราฟิกเพื่อความสวยงามแล้วยังมีการผสมผสานกราฟิกเพื่อเปลี่ยนความหมายของกราฟิกเดิมด้วย เช่น ตัวอย่างของป้ายจราจรที่มีการรวมเอาระหว่างกราฟิกที่แปลว่าห้ามมาใช้กับกราฟิกบอกทางเพื่อเปลี่ยนความหมายเป็นการห้ามไปยังทิศทางนั้นๆ เป็นต้น

คุมโทนการออกแบบ

     การคุมโทนในการออกแบบจะทําให้งานออกแบบดูเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีจุดใดจุดหนึ่งเด่นหรือด้อย ไม่เกิดการเปรียบเทียบกับภาพรวมของงาน การคุมโทนโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือการคุมโทนขององค์ประกอบและการคุมโทนสี
     1) การคุมโทนขององค์ประกอบ การคุมโทนขององค์ประกอบจะเป็นการกําหนดลักษณะของทุกๆ องค์ประกอบให้เป็นไปในแนวทางและทิศทางเดียวกัน ซึ่งการจะคุมโทนได้อย่างแม่นยํานั้น หัวใจสําคัญอยู่ที่ขั้นตอนการวาดโครงอินโฟกราฟิกว่าต้องการให้มีลักษณะในทิศทางใดระบุลักษณะและจํานวนขององค์ประกอบที่ต้องใช้ก่อนที่จะลงมือสร้างอินโฟกราฟิกจริง
ในอดีตแนวทางการออกแบบมักออกแบบกราฟิกให้เหมือนกับวัตถุจริง (Skeuomorphism) โดยอาจมีการใส่แสงเงาหรือพื้นผิวที่ดูสมจริงเข้าไปในงานออกแบบ แต่ปัจจุบันแนวทางการออกแบบเริ่มเปลี่ยนจากเน้นความสมจริงมาเป็นการออกแบบแบบเรียบง่าย (Flat & Material) มากขึ้น
ข้อดีของการออกแบบให้เหมือนกับวัตถุจริง
          1) ผู้ชมเห็นแล้วสามารถเข้าใจได้โดยทันที
          2) แต่ละองค์ประกอบมีเอกลักษณ์ความ เป็นตัวเองสูง
          3) เหมาะสมกับผู้ชมหรือผู้ใช้ที่ยังไม่คุ้นเคยกับงานออกแบบ
ข้อเสียของการออกแบบให้เหมือนกับวัตถุจริง
          1) นักออกแบบต้องใช้เวลาในการใส่รายละเอียดให้กับแต่ละองค์ประกอบนานขึ้น
          2) ต้องประมวลการแสดงผลที่มากขึ้นใช้ปริมาณข้อมูลและเวลาในการดาวน์โหลดมาก
          3) ให้ความรู้สึกที่ล้าหลังไม่ทันสมัย
ข้อดีของการออกแบบแบบเรียบง่าย
          1) ใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์
          2) ลดเวลาในการออกแบบและเก็บรายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบ
          3) ใช้ปริมาณข้อมูลและระยะเวลาในการดาวน์โหลดที่น้อยกว่า
          4) ให้ความรู้สึกและภาพลักษณ์ที่ทันสมัย
          5) รองรับการเปลี่ยนขนาดไปตามอุปกรณ์ที่แสดงผล
ข้อเสียของการออกแบบแบบเรียบง่าย
          1) แต่ละองค์ประกอบมีเอกลักษณ์ความเป็นตัวเองต่ำ ดูเหมือนๆกันไปหมด
          2) ไม่ชัดเจน เข้าใจความหมายได้ยาก ผู้ชมต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเสียก่อน
          3) หากออกแบบได้ไม่ดีจะสร้างความน่าเชื่อให้กับผู้ชม
          2) การคุมโทนสี โดยทั่วไปแล้วการคุมโทนสีมักเริ่มต้นจากการกําหนดชุดสี (Color Palette) หลักขึ้นมา 1 ชุด และพยายามออกแบบส่วนต่างๆให้เป็นไปตามชุดสีนั้นๆ
แต่ถ้าหากไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากจุดใดดี แนวทางการคุมโทนสีอินโฟกราฟิกสามารถ เริ่มต้นได้ 3 วิธีดังนี้
               - คุมโทนสีตามแบรนด์ สังเกตว่าแบรนด์หรือองค์กรของคุณมีสีใดเป็นสีหลักและออกแบบอินโฟกราฟิกโดยเลือกใช้ชุดสีนั้น จะช่วยให้ภาพรวมของผลงานกับแบรนด์ไปในทิศทางเดียวกัน
               - คุมโทนสีตามเนื้อหา สังเกตว่าเนื้อหานั้นเกี่ยวข้องกับอะไร เนื้อหามีความเกี่ยวข้องกับสีใดๆ เป็นพิเศษหรือไม่ ถ้ามีให้เลือกใช้สีนั้น เป็นสีหลักในการออกแบบ
          3) คุมโทนสีตามธรรมชาติ เป็นการเลือกสีจากแรงบันดาลใจที่อยู่รอบตัวและนําสีเหล่านั้นมาเป็นสีหลักในการออกแบบ

การใช้ตัวอักษร

     ตัวอักษรจัดว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่มีอยู่ในอินโฟกราฟิกเกือบ ทุกชนิด หากนักออกแบบใช้งานตัวอักษรได้อย่างเหมาะสมจะช่วยขับเน้น ความงดงามของอินโฟกราฟิกมากขึ้น
     1) ใช้ฟอนต์ให้ถูกกับงาน ฟอนต์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเรียกลักษณะของตัวอักษรให้ปรากฏขึ้นมา ปัจจุบันนั้นมีฟอนต์ให้เลือกใช้งานอยู่มากมายตั้งแต่ฟอนต์ที่ติดมากับระบบปฏิบัติการ, ฟอนต์ที่สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีไปจนถึงฟอนต์ที่ต้องซื้อสิทธิ์มาใช้งาน แม้ว่าฟอนต์จะมีอยู่มากมายแต่ไม่ใช่ทุกฟอนต์จะเหมาะสมกับงานหนึ่งๆ เสมอไป การเลือกใช้งานฟอนต์ที่ผิดจะส่งให้ผลความน่าเชื่อถือลดลงอย่างรวดเร็ว และส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่เปลี่ยนไปได้
ยกตัวอย่างเช่น อินโฟกราฟิกเกี่ยวกับฮาร์เล่ย์-เดวิดสัน (Harley Davidson) ที่มีภาพลักษณ์เป็นรถมอเตอร์ไซค์ที่มีความคลาสสิก มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนาย
     แต่ถ้าหากนักออกแบบเปลี่ยนฟอนต์ของอินโฟกราฟิกเสียใหม่ภาพลักษณ์ที่เห็นก็จะเปลี่ยนจากความเท่ เป็นความหวานแหววได้ในทันที
ในกรณีของฟอนต์ภาษาไทยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท - ฟอนต์ที่ไม่มีหัว และฟอนต์ที่มีหัว ซึ่งฟอนต์แต่ละแบบจะมี ข้อดีข้อเสียแตกต่างกันดังนี้
ฟอนต์ภาษาไทยไม่มีหัวฟอนต์ไม่มีหัว
          - เหมาะสําหรับใช้ในการอธิบายข้อมูลที่ไม่ยาวมาก
          - ให้ภาพลักษณ์ที่ทันสมัยมากกว่า
          - มีน้ําหนักและสไตล์ให้เลือกใช้มากกว่า
          - สามารถใช้งานในขนาดเล็กๆ หรือหน้าจอความละเอียดต่ำได้ดีกว่า
ฟอนต์ภาษาไทยมีหัวฟอนต์มีหัว
          - มีเอกลักษณ์ชัดเจน
          - เหมาะสําหรับใช้ในการอ่านอย่างต่อเนื่องยาวๆ
          - มีความเป็นทางการสูงกว่าใช่เจ้าของภาษาจะคุ้นเคยกับโครงสร้างตัวอักษรแบบมีหัวมากกว่า
     2) อย่าใช้ฟอนต์มากเกินไป
การใช้ฟอนต์มากเกินไป แม้ว่าฟอนต์นั้นๆจะสวยงามมากเพียงไร ก็ตามแต่หากนํามาผสมกันมากเกินไปย่อมสร้างความขัดแย้ง โดยทั่วไปในงานอินโฟกราฟิกหนึ่งๆ ไม่ควรมีการใช้งานเกิน 3 ฟอนต์ แต่ถ้าหากต้องการให้ผู้ชมเห็นความแตกต่างหรือเห็นระดับขั้นของข้อมูลผ่านตัวอักษรให้เลือกใช้การเปลี่ยนสไตล์หรือเปลี่ยนน้ำหนักของฟอนต์นั้นๆ แทน ก็ตามนักออกแบบต้องระมัดระวังอย่าเลือกใช้น้ำหนัก ของตัวอักษร (Faux Style) ที่ไม่ได้รับการออกแบบอย่างเหมาะสม การใช้ความหนาปลอม (Faux Bold) รูปบน จะส่งผลให้ตัวอักษร ถูกยึดสูงขึ้นเล็กน้อย ขอบของตัวอักษรจะไม่ต่อเนื่อง มีจุดหักมุม เช่น ตัว ‘e’ เมื่อเทียบกับความหนาจริง (Bold) รูปล่าง จะให้ความรู้สึกที่ดูหนา อย่างเป็นธรรมชาติมากกว่า ในกรณีของตัวเอนปลอม (Faux Italic) รูปบน จะไม่มีลักษณะของปลายหางอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอนที่เลียนแบบมาจากการลายมือแตกต่างกับตัวเอนจริง (Italic) รูปล่างที่มีโครงสร้างตัวอักษรดูต่อเนื่องมากกว่า แต่เปลี่ยนตัว ‘a’ จากตัวพิมพ์ (Double-storey) เป็นแบบตัวเขียน (Sinjgle-storey)
     3) การจัดแนวข้อความ
สําหรับการจัดแนวข้อความโดยทั่วไปมีอยู่ 5 รูปแบบ ได้แก่
          - จัดข้อความเสมอหน้า (Align Left) เป็นการจัดข้อความโดยตัวอักษรแรกของแต่ละบรรทัดจะเท่ากัน
          - จัดข้อความกึ่งกลาง (Center) เป็นการจัดข้อความโดยแต่ละบรรทัดจะอยู่กึ่งกลางระหว่างกัน
          - กระจายข้อความแบบไทย (Thai Distribution) เป็นการจัดข้อความโดยตัวอักษรแรก และตัวอักษรสุดท้ายของแต่ละบรรทัดเท่ากัน โดยเพิ่มหรือลดช่องไฟระหว่างตัวอักษร

วิดีโอที่น่าสนใจ